Home / ภูมิหลังวิจิตรา

ภูมิหลังวิจิตรา

ภูมิหลังวิจิตรา

          โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ “วิจิตราพิทยา” ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2499 โดยท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ เป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนและเพื่อเป็นเกียรติแก่โรงเรียนนี้จึงให้ใช้นามโรงเรียนนี้ว่าโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ “วิจิตราพิทยา” อยู่ในความอุปการะของกรมสวัสดิการทหารบกมีกองทัพบกเป็นเจ้าของจัดตั้งโดยผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 ร้อยเอกสุขเจริญรัตน์เป็นผู้จัดการและมอบหมายให้สิบโทยิ้มศรีศิลป์เป็นครูใหญ่คนแรกเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2499 มีนักเรียน 50 คนทุนสำหรับการก่อสร้างดำเนินการได้จากกรมสวัสดิการทหารบกเป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) เพื่อจัดสร้างอาคารและจัดหาอุปกรณ์การศึกษาใช้อาคารกองร้อยเสนารักษ์ผ.ส.6 หลังเก่าเป็นอาคารชั่วคราวปัจจุบันเป็นที่ตั้งกองบัญชาการศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ (ศ.ป.ส.) ที่ 25 อยู่ใกล้บ้านพักรับรองของมทบ.6 ต่อมากองทัพบกได้อนุมัติเงินอีก 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) เพื่อซ่อมเป็นอาคารเรียนจึงได้จัดตั้งโรงเรียนและเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2499 เริ่มดำเนินการครั้งแรกได้รับอนุญาตให้ทำการสอนจากชั้นป.1 – ป.4 แต่สอนจริงเพียงชั้นอนุบาลปีที่ 1 – ป. 2 และโรงเรียนก็ดำเนินการมาด้วยความเรียบร้อย

     ปีการศึกษา 2502 ได้ขออนุญาตขยายชั้นเรียนจากชั้นอนุบาลถึงชั้นม.6 เมื่อได้รับอนุญาตได้เปิดทำการสอนเพียงชั้นอนุบาลถึงชั้นม.1 และได้ขยายชั้นเรียนเรื่อยๆจนถึงม.6

     ปีการศึกษา 2506 ได้ขอยุบชั้นม.1 – ม.3 เพื่อสอนเฉพาะชั้นป.1 – ป.7 ต่อมาเมื่อปีการศึกษา 2507 นักเรียนที่จบชั้นป.7 จะต้องเรียนต่อที่เดิมจึงได้ขยายการศึกษาถึงชั้นม.3 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2507

     ปีการศึกษา 2508 ได้ขออนุมัติเงินช่วยเหลือจากกรมสวัสดิการทหารบกได้รับงบประมาณจากกรมสวัสดิการทหารบกเป็นเงิน 300,000 บาท (เงินร.ส.ร.อ.)ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารใหม่เมื่อต้นปีการศึกษา 2508 เสร็จสิ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2508 อาคารใหม่อยู่ข้างถนนสถิตย์นิมานกาล (ถนนสายวารินชำราบ-พิบูลมังสาหาร) ข้างบ้านพักทหารและนายสิบมทบ.6 มีเนื้อที่ประมาณ 36 ไร่และโรงเรียนได้ย้ายจากที่เก่ามาอยู่ที่ใหม่เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2509 อาคารหลังนี้เป็นอาคารไม้ 2 ชั้นมีห้องเรียนและห้องปฏิบัติทั้งหมด 16 ห้องขนาด 6 X 6 เมตร 4 ห้องและขนาด 6 X 8 เมตร 12 ห้องบริเวณโรงเรียนซึ่งมีเนื้อที่ 36 ไร่เป็นที่ดินของกองทัพบกอยู่ในความรับผิดชอบของมทบ.6

     ปีการศึกษา 2510 จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นมากจนไม่สามารถจะเรียนในอาคารเดียวกันได้กองโรงเรียนราษฎร์กรมวิสามัญศึกษาจึงได้จัดเงินงบประมาณให้จำนวน 600,000 บาท (หกแสนบาทถ้วน) เพื่อก่อสร้างอาคารหลังใหม่เป็นอาคารไม้ 2 ชั้นมีห้องขนาด 7 X 8 เมตรจำนวน 12 ห้องสร้างเสร็จในเดือนมีนาคม 2512 อาคารหลังใหม่มีชื่อว่า “ อาคารวิทยาคารสงเคราะห์ ”
     ปีการศึกษา 2512 โรงเรียนมีอาคารไม้ 2 หลังกระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้รับนักเรียนได้ 1,170 คนแต่มีจริงเพียง 729 คนการเรียนการสอนของโรงเรียนใช้แบบโรงเรียนราษฎร์ทั่วไปใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการรายได้ส่วนใหญ่มาจากค่าเล่าเรียนและเงินอุดหนุนจากกระทรวงศึกษาธิการประเภทค่าจ้างครูจากครูช่วยสอนเป็นรายเดือน
     ปีการศึกษา 2517 มทบ.6 ได้จัดสร้างอาคารใหม่ 1 หลังเป็นอาคารชั้นเดียวใช้สำหรับอนุบาลโดยเฉพาะอาคารนี้มี 6 ห้องขนาด 10 X 5 เมตรเนื้อที่ทั้งหมด 450 ตารางเมตรหลังคามุงกระเบื้องลูกฟูกผนังใช้อิฐก่อเป็นบล็อคเพื่ออากาศถ่ายเทได้สะดวกพื้นคอนกรีตมีห้องน้ำห้องส้วมถาวรอยู่ด้านหลังมีแผงกั้นระหว่างห้องเรียนสามารถยกได้เพื่อใช้ประชุมในบางโอกาสเริ่มใช้อาคารนี้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2517
     สาเหตุที่สร้างอาคารอนุบาลก็เนื่องจากจำนวนนักเรียนได้เพิ่มชั้นห้องเรียนมีอยู่ 2 อาคารได้ใช้เป็นห้องเรียนหมดไม่มีห้องพักครูไม่มีที่เก็บพัสดุไม่มีห้องพยาบาลห้องสมุดไม่มีเป็นสัดส่วนเมื่อสร้างอาคารอนุบาลแล้วทำให้มีห้องว่างจัดเป็นห้องสมุดห้องพยาบาลห้องพัสดุห้องวิทยาศาสตร์ประกอบกับโรงเรียนมีนโยบายต้องการแยกเด็กอนุบาลเป็นเอกเทศโดยปราศจากการรบกวนจากนักเรียนห้องอื่นๆที่ทำการสอนตามปกติ

          รายนามผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22
ที่ดำรงตำแหน่งในฐานะผู้อุปถัมภ์โรงเรียนวิจิตราพิทยา
1. พล.ต.เต็มหอมเศรษฐี                    ธันวาคม 2498 – ธันวาคม 2499
2. พล.ต.พิสิษฐ์ฉายเหมือนวงศ์        มกราคม 2500 – ธันวาคม 2500
3. พล.ต.สอดรัตยันตรกร                 ธันวาคม 2500 – ธันวาคม 2501
4. พล.ต.เฉลียวเพ็ชรโยธิน                ธันวาคม 2501 – ธันวาคม 2503
5. พล.ต.พื้นอัตถะโยธิน                     ธันวาคม 2503 – ธันวาคม 2505
6. พล.ต.จำลองสิงหะ                        ธันวาคม 2505 – ตุลาคม 2506
7. พล.ต.ถวัลย์ศรีเพ็ญ                      ตุลาคม 2506 – มิถุนายน 2508
8. พล.ต.ยงค์รอดโพธิ์ทอง               มิถุนายน 2508 – มกราคม 2514
9. พล.ต.จุมพลทองทาบ                   เมษายน 2514 – กันยายน 2516
10. พล.ต.เฉลิมอรัณยุกานนท์          ตุลาคม 2516 – กันยายน 2518
11. พล.ต.ประภัสภ์เครือคงคา           ตุลาคม 2518 – กันยายน 2519
12. พล.ต.ประยูรพลอยมุกดา           ตุลาคม 2519 – กันยายน 2522
     รายนามผู้จัดการโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ “วิจิตราพิทยา”
1. ร.อ.สุขเจริญรัตน์                          17 พฤษภาคม 2499 – 18 เมษายน 2501
2. ร.อ.วิกรองพงษ์สุภา                    19 เมษายน 2501 – 31 พฤษภาคม 2503
3. พ.ต.พนมวรสาร                             1 มิถุนายน 2503 – 31 พฤษภาคม 2506
4. ร.ท.ชูศักดิ์นนทะเปารยะ                 1 มิถุนายน 2506 – 30 กันยายน 2508
5. พ.ท.งามพลศรีวิลาศ                     1 ตุลาคม 2508 – 23 มีนาคม 2509
6. พ.ท.ชิตอ่อนละออ                       24 มกราคม 2509 – 31 พฤษภาคม 2510
7. พ.อ.เฉลิมอรัญยกานนท์               1 มิถุนายน 2510 – 20 กันยายน 2514
8. พ.อ.สุพจน์จันทรปรนิก              21 กันยายน 2514 – 2 พฤศจิกายน 2515
9. พ.อ.เมืองบุรุษพัฒน์                    3 พฤศจิกายน 2515 – 27 พฤศจิกายน 2516
10. พ.อ.ประจบอัครเสนา                 –
11. พ.ท.จำเรียญกรุณามิตร                                          – 30เมษายน 2521
     รายนามครูใหญ่โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ “วิจิตราพิทยา”
1. ส.ต.ยิ้ม  ศรีศิลป์                            17 พฤษภาคม 2499 – 29 พฤษภาคม 2501
2.ส.อ.โสภณ  รัตนีย์                        30 พฤษภาคม 2501 – 8 มีนาคม 2502
3. นายสมพงษ์  สิทธิชัย                    9 มีนาคม 2502 – 1 มิถุนายน 2506
4. ส.อ.โสภณ  รัตนีย์                          2 มิถุนายน 2506 – 30 กันยายน 2507
5. จ.ส.อ.คูณไชย  คำภา                      1 ตุลาคม 2507 – 15 กันยายน 2514
6.นางปรียา  ถิระกิจ                         16 กันยายน 2514 – 30 มิถุนายน 2515
7. นายทองหล่อ  สันตวงศ์ธิป            1 พฤศจิกายน 2515 – 30 เมษายน 2517
8. นายปลอด  ภานุรัตน์                      1 พฤษภาคม 2519 – 31 กรกฎาคม 2519
9. นางสมจิต  บุญแย้ม                       1 สิงหาคม 2519 – 30 เมษายน 2521

     วันที่ 1 พฤษภาคม 2521  ได้รับคำสั่งโอนเป็นโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการในระดับมัธยมศึกษาดังนั้นนักเรียนตั้งแต่ป. 1 – ป. 4 โรงเรียนได้ดำเนินการย้ายไปเรียนที่โรงเรียนวารินวิชาชาติในปีการศึกษานี้ได้ดำเนินการเปิดสอนในชั้นที่เหลืออยู่ได้แก่อนุบาล 2, ชั้นป.5, ป.6, ม.ศ.3 ส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้เปิดสอน 6 ห้องเรียนห้องเรียนละ 45 คน
     วันที่ 1 พฤษภาคม 2521 ได้โอนจากกรมสวัสดิการทหารบกมาสังกัดกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการมีผู้บริหารโรงเรียนมาจนถึงวันนี้ดังนี้คือ

1. นายประดิษฐ์ ศรีวรมาศ                              1 พฤษภาคม 2521
2. นายเต็มใจ หาญจางสิทธิ์                           2521 – 2523
3. นายเจริญ ช่วงชิง                                      2523 – 2533
4. นายณรงค์ ไชยกาล                                   2533 – 2537
5. นายมนู ส่งเสริม                                         2537 – 2538
6. นายรักษา ศรีภา                                         2539 – 2541
7. นางรัชนี ศุภเกษตร                                     2541 – 2542
8. นายพิชัย พิทยาธรพิทักษ์                          2542 – มิถุนายน 2546
9. นางพัชรินทร์ สันตินิยม                             มิถุนายน 2546 – มิถุนายน 2549
10. นายประชุมพล อินทนนท์                                มิถุนายน 2549 – 12 สิงหาคม 51
11. นายไพจิตร หงษ์ทอง รองผอ.รักษาการฯ      13 สิงหาคม – 30 กันยายน 2551
12. นายสิทธิชัย ดีล้น รองผอ.รักษาการฯ             1 ตุลาคม 2551 – ธันวาคม 2552
13. นายนพรัตน์ ทองแสง                                     ธันวาคม 2552 – ธันวาคม 2558                                                       
14. นายอภิชาติ  ทองแจ่ม                                     ธันวาคม 2558 – 30 กันยายน 2564
15. ว่าที่ร้อยตรีบรรจง ดอกอินทร์                        1 ตุลาคม 2564 – ปัจจุบัน

แผนชั้นเรียนปีการศึกษา 2564

ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและจัดแผนการจัดชั้นเรียน 5:5:5:4:4:4 รวม 27 ห้องเรียน 
คณะครูจำนวน 56 คน
นักเรียน 841 คน     

(ข้อมูล ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2564)